กรณีมีเหตุจำเป็นทางธุรกิจ เช่น จะต้องอยู่ปฏิบัติงานในบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนเป็นต้น
หลักเกณฑ์การพิจารณา
- คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว
- คนต่างด้าวต้องมีเงินได้ตามตารางเงินได้แนบท้ายคำสั่งนี้ (ผนวก ก)
- ต้องเป็นธุรกิจซึ่งมีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท
- ธุรกิจนั้นต้องยื่นงบการเงิน ณ วันสิ้นงวดสองปีบัญชีที่ผ่านมา ที่ได้รับการตรวจรับรองความถูกต้องจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตหรือผู้สอบบัญชีภาษีอากรแล้แต่กรณีเพื่อแสดงว่าธุรกิจมีความมั่นคงเชื่อถือได้ มีการประกอบการจริงและมีความต่อเนื่อง โดยพิจารณาจากแนวทางพิจารณาสถานภาพธุรกิจว่ามีการประกอบการจริงและมีความ ต่อเนื่องแนบท้ายคำสั่งนี้ (ผนวก ข)
- ธุรกิจนั้นมีความจำเป็นจะต้องว่าจ้างคนต่างด้าวทำงาน
- ธุรกิจนั้นต้องมีอัตราส่วนระหว่างจำนวนคนต่างด้าวกับพนักงานคนไทยประจำ ในอัตราส่วนคนต่างด้าว 1 คนต่อพนักงานคนไทยประจำ 4 คน
- ธุรกิจประเภทดังต่อไปนี้ ให้ได้รับการยกเว้นหลักเกณฑ์ตามข้อ (3) (4) และ (5) และให้ได้รับการผ่อนผันในเรื่องอัตราส่วนคนไทยตามหลักเกณฑ์ข้อ (6) โดยให้มีพนักงานคนไทยในอัตราส่วนคนต่างด้าว 1 คน ต่อพนักงานคนไทยประจำ 1 คน
(ก) ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ (สำนักงานผู้แทน)
(ข) สำนักงานภูมิภาค
(ค) บริษัทข้ามชาติ (สำนักงานสาขา)
เอกสารประกอบที่ต้องใช้
- แบบคำขอ ตม.7 รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม จำนวน 1 รูป และ ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท (คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)
- สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ (หน้าที่มีรูปถ่าย, วีซ่า, ตราเดินทางเข้าครั้งสุดท้าย, บัตรขาออก (ตม.6), ตรา RE-Entry Permit, ตราประทับการอนุญาตให้อยู่ต่อครั้งสุดท้าย และคนต่างด้าวลงลายมือชื่อรับรองทุกแผ่น)
- หนังสือรับรองคนต่างด้าวเข้าทำงานตามแบบของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (แบบ สตม.1)
- สำเนาใบอนุญาตทำงาน (ทุกหน้าที่มีข้อมูลปรากฎ และคนต่างด้าวลงลายมือชื่อรับรองทุกแผ่น)
- สำเนาหลักฐานการจดทะเบียนขององค์กรนั้น เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หรือการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน ฉบับนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน
- สำเนาบัญชี รายชื่อผู้ถือหุ้นทั้งหมด ฉบับนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน
- สำเนางบดุล และงบกำไรขาดทุน ปีล่าสุด พร้อมแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) และใบเสร็จรับเงิน และสำเนา สบช.3 (ต้องผ่านการรับรองความถูกต้องจากสรรพากร หรือกระทรวงพาณิชย์ หรือจากผู้ตรวจสอบบัญชี หรือใช้เอกสารตัวจริงเท่านั้น)
- สำเนาแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.1) ที่มีชื่อพนักงานไทยและชื่อคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอ 3 เดือนล่าสุดพร้อมใบเสร็จรับเงิน (กรณีไม่มีชื่อของคนต่างด้าวให้ทำหนังสือชี้แจง และคนต่างด้าวห้ามมีรายชื่อใน ภ.ง.ด.1 ก่อนมีใบอนุญาตทำงาน)
- สำเนาแบบยื่นรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.91) ของคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอ ปีล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน (ถ้ามี)
- สำเนาแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบตามที่ได้ยื่นไว้ต่อสำนักงานประกันสังคม ( สปส.1-10) 3 เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน
- สำเนาแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30 หรือ ภ.พ.36) ของปีงบการเงินล่าสุด 3 เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน
- เอกสารหรือหลักฐานแสดงว่า ธุรกิจมีความจำเป็นจะต้องว่าจ้างคนต่างด้าวทำงาน เช่น ประกาศรับสมัครคนไทยเข้าทำงาน แล้วไม่มีผู้สมัคร เป็นต้น
- แผนที่แสดงสถานที่ทำงานของผู้ยื่นคำขอ (ประทับตราบริษัทและกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม )
- เอกสารหรือหลักฐานอื่น ตามที่คณะกรรมการติดตามการปฎิบัติราชการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของ สตม. กำหนด (แบบ สตม.2)
- รูปถ่ายสถานประกอบการ (ประทับตราบริษัทและกรรมการผู้มีอำนาจลงนามทุกแผ่น)
– ภายนอก ให้ปรากฏรูปถ่ายสภาพตัวอาคาร, เลขที่ตั้ง และป้ายชื่อสถานประกอบการ
– ภายใน ให้ปรากฏภาพพนักงานคนไทยและคนต่างด้าวขณะปฏิบัติงานอยู่
- ให้นำหลักฐานเอกสารตัวจริงตามข้อ 5, 6, 7, 8, 9 และ 10 มาแสดงด้วย
- กรณีมีครอบครัวติดตามมาอยู่ด้วย ให้แสดงหลักฐานครอบครัว ได้แก่ ทะเบียนสมรส ใบเกิดบุตร หากออกโดยรัฐบาลในต่างประเทศ ให้ผ่านการรับรองจากสถานทูตของประเทศนั้นๆ
หมายเหตุ: ข้อ 8 - 11 รับรองความถูกต้องจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
โปรเฟสชันแนลวัน ยินดีให้คำปรึกษาเกี่ยวกับบริการขอใบอนุญาตทำงาน Work Permit และการขอ Visa สำหรับชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย อย่างมีประสิทธิภาพ ครบวงจร ให้กับทุกองค์กร ติดต่อสอบถามเราได้ที่ Tel. 02-619-2161 กด 1 หรือทาง LINE: @Proonesales หรือ คลิกเพิ่มเพื่อนที่นี่
ข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Visa & Work Permit
ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) คืออะไร
มาตรฐานการบริการ Visa & Work Permit ของโปรเฟสชันแนลวัน
บริการ Visa & Work Permit ดูแลทุกขั้นตอนจบในที่เดียว
วีซ่าและใบอนุญาตทำงาน Visa & Work Permit
เหตุผลที่ควรใช้บริการขอใบอนุญาตทำงาน Work Permit กับ Professional One
EMPLOYER OF RECORD คืออะไร?
บริการ EOR หมดกังวลเรื่องดูแลพนักงานต่างแดน
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.immigration.go.th/