1. ใช้วิธีแบ่งงานแบบ 1-3-5 งานขนาดใหญ่ 1 ชิ้น ขนาดกลาง 3 ชิ้น และขนาดเล็ก 5 ชิ้น วิธีแบ่งงานแบบ 1-3-5 คือแบ่งงานออกเป็น 3 ก้อนใหญ่ คืองานใหญ่ 1 ชิ้น งานขนาดกลาง 3 ชิ้น และขนาดเล็ก 5 ชิ้น ถ้านำกฎนี้มาช่วยจะเท่ากับว่าวันหนึ่งเราจะสามารถสะสางงานได้มากถึง 9 งานต่อวันเลยทีเดียว
2. ระบุขั้นตอนงานใน To-Do List ให้ชัดเจนเพื่อจะได้ประเมินเวลาทำงานได้การเขียน To-Do List เราจะไม่เขียน To-Do List ที่กว้างเกินไป ควรแบ่งขั้นตอนการทำงานนั้น ๆ ลงใน To-Do List อีกที ไม่ใช่โยนงานนั้นลง To-Do List ไปเลยขั้นตอนเดียว เพราะถ้าระบุขั้นตอนไม่ชัดอาจทำให้เราประเมินเวลาในการทำงานผิด เช่น งานหัวข้อ การเขียนโครงการใหม่ ถ้าไม่แบ่งขั้นตอนออกมา งานนี้อาจจะค้างบน To-Do List ไปเป็นวันหรือเป็นสัปดาห์เลยก็ได้ ดังนั้นควรแบ่งขั้นตอนว่าต้องทำอะไรบ้าง เช่น ก่อนจะเริ่มเขียนโครงการก็ต้องมีขั้นตอนของการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง ศึกษาข้อมูลคู่แข่ง
3. การจัดลำดับความสำคัญของงาน จัดการงานที่เร่งด่วนและสำคัญก่อน กำหนดเวลาช่วงเวลาทำงานเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ชัดเจนและทำให้เป็นประจำ
4. เลือกใช้แอปพลิเคชัน To-Do List มาช่วยเพียง 1 แอปพลิเคชัน ศึกษาทำความเข้าใจการใช้งานต่าง ๆ ฝึกใช้ให้คล่อง จะช่วยให้เราทำงานต่าง ๆ ได้สะดวกยิ่งขึ้น
5. เมื่อเราทำงานเสร็จเรียบร้อยต้องขีดฆ่าออกจาก To-Do List ทันที นอกจากป้องกันความสับสนแล้ว ยังเอาไว้ตรวจสอบประสิทธิภาพของการทำงานของเราเองได้อีกด้วย เพราะถ้าเวลาล่วงเลยจนเกือบจะเลิกงานแล้ว แต่ยังไม่ได้ขีดฆ่าอะไรออกไปเลยสักอย่าง ก็เหมือนเป็นการกระตุ้นให้เรารู้ว่าการจัดการการทำงานของเรามีปัญหา
หางานสาย IT ฝากเรซูเม่กับ professional-one.com
ตำแหน่งสาย IT ที่เปิดรับ professional-one.com/job