7C สำหรับทักษะการสื่อสารในองค์กร

การติดต่อสื่อสารกันภายในองค์กรถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะกระบวนการที่สำคัญของ การเป็นพนักงานบริษัทที่ต้องมีการทำงานร่วมกับผู้อื่น จึงควรที่จะมีการพัฒนาตัวเองเพื่อที่จะสามารถใช้ทักษะการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง เพราะถือว่าเป็นกิจกรรมภายในบริษัท ที่ต้องมีการถ่ายทอดจากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกบุคคลหนึ่งและต่อไปยังคนอื่น ๆ ภายในบริษัท ซึ่งจะช่วยให้เกิดเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้แก่ทั้ง 2 ฝ่าย หรือหลายฝ่าย และช่วยให้เกิดเป็นการพัฒนาตัวเองของบรรดาพนักงานบริษัทและการทำงานในบริษัทได้อย่างบรรลุเป้าหมายและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

bearded-student-sharing-his-idea_1098-2956

โดยที่วัตถุประสงค์ของการพัฒนาตัวเองเพื่อที่จะให้เกิดเป็นทักษะการสื่อสารที่มีไว้เพื่อติดต่อกันในบริษัทหรือองค์กรก็คือ การทำให้เกิดเป็นความเข้าใจที่ตรงกัน สร้างทัศนคติของพนักงานบริษัทให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและเพื่อให้เกิดเป็นความพยายามที่จะสร้างเป้าหมายที่สามารถจะทำให้เกิดการทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีรูปแบบการพัฒนาตัวเองของพนักงานบริษัท ในด้านทักษะการสื่อสารโดยยึดหลัก 7C ที่ถือว่าเป็นการสื่อสารภายในองค์กรที่ถูกต้องและได้รับความนิยมจนแพร่หลายมากที่สุด คือ

1.ผู้ส่งสาร (Source) คือ ผู้ที่เป็นตัวต้นในการกำเนิดสารที่จะต้องกำหนดสาระ ความคิด ความรู้ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งพนักงานบริษัทหัวหน้างานหรือผู้เป็นเจ้าของบริษัทเลยก็ได้เช่นกัน

2.สาร (Message) คือ เรื่องราวความรู้ เทคนิคต่าง ๆ ที่ผู้ส่งสารต้องการจะส่งไปให้ถึงมือผู้รับ โดยมีความสำคัญที่เนื้อหาของสารที่สามารถเลือกจัดลำดับข่าวสารได้ และในส่วนนี้ต้องมีทักษะการสื่อสารเพื่อที่จะทำให้ผู้รับเข้าใจในตัวสารได้ง่ายยิ่งขึ้น

office-1209640_960_720

3.เนื้อหาสาระ (Encoder) คือ ตัวอักษร สัญญาณ ภาษาเขียนที่จะสามารถทำให้เห็นถึงเนื้อหาสาระ ในสารได้อย่างชัดเจน ซึ่งในข้อนี้ผู้ที่ส่งสารก็ควรที่จะต้องมีการพัฒนาตัวเองเพื่อที่จะสามารถใช้ทักษะการสื่อสารในการบ่งบอกได้อย่างชัดเจนและเข้าใจง่ายมากที่สุด พร้อมไม่มีความผิดเพี้ยนหรือพลิกแพลงจนความหมายคลาดเคลื่อนได้

4.ช่องทางการสื่อสาร (Channel) คือ สื่อต่าง ๆ ที่จะเป็นตัวกลางในการกระจายสารหรือเนื้อหาสาระในองค์กร ซึ่งก็อาจจะเป็นคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์ภายใน เป็นต้น ซึ่งข้อนี้พนักงานบริษัทก็ควรที่จะระมัดระวังในการใช้งาน และควรที่จะมีทักษะการสื่อสารที่ดีและชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง

socialmedia-952091_960_720

5.การแปลความหมายของสาร (Decoder) เมื่อได้สารมาแล้ว ก็ต้องมีการมาแปลความหมายที่ผู้ส่งสาร พยายามที่จะสื่อสารมาหาผู้รับ เพื่อที่จะทำให้เกิดความเข้าใจ ซึ่งถ้าผู้ส่งสารใช้การสื่อสารแบบผิด ๆ ก็อาจจะทำให้สารผิดเพี้ยน และอาจจะก่อให้เกิดปัญหาได้ ถ้าเป็นเช่นนั้นผู้ส่งสารที่อาจจะเป็นพนักงานบริษัทจึงควรที่จะมีการพัฒนาตัวเองอยู่เรื่อย ๆ

6.ผู้รับ (Receiver) คือ จุดหมายปลายทางของการสื่อสาร ที่ต้องการจะรับรู้ข่าว หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ภายในสารหรือการแสดงพฤติกรรมที่ผู้ส่งสารต้องการ ผู้รับสารต้องมีทักษะการสื่อสาร (Communication Skill) ที่ดีเช่นเดียวกับทางผู้ส่งสาร การสื่อสารจึงจะสามารถบรรลุผลได้อย่างตรงต่อเป้าหมาย จึงต้องมีการพัฒนาตัวเองเพื่อให้สามารถสื่อสารกันได้อย่างชัดเจน

7.การตอบสนองของผู้รับสาร (Response and Feedback) เมื่อผู้ที่ได้รับสารแปลความหมายจนเป็นที่เข้าใจแล้วผู้รับก็ย่อมที่จะต้องมีการแสดงปฏิกิริยาการตอบสนองต่อสารนั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เห็นด้วยหรือ ไม่ชอบใจไม่เห็นด้วย เป็นต้น