งานไอที เป็นงานที่มีความต้องการของตลาดแรงงานสูง เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในการทำงานภายในองค์กรต่าง ๆ ซึ่งบุคลากรทางด้านไอทีจำนวนมาก ก็มาจากคณะที่มีการเรียนการสอนทางด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ แต่หลายคนที่ไม่ได้เรียนจบทางด้านไอที แต่ชอบงานไอทีและอยากทำงานในประเภทงานไอที อาจมีคำถามว่า เรียนสาขาอื่นมา สามารถทำงาน IT ได้ไหม? มาดูคำตอบกัน
ประเภทงานไอที มีอยู่ด้วยกันหลายแขนง ซึ่งเป็นงานไอทีที่ต้องการความรู้ความสามารถเฉพาะในงานนั้น ๆ ประเภทงานไอทีที่ใช้งานจริงในองค์กร มีความแตกต่างจากการเรียนการสอนในห้องเรียนค่อนข้างมาก เพราะระบบงานไอทีจะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับความต้องการในการใช้งานที่แตกต่างกัน รวมทั้งซอฟแวร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อาจไม่มีใช้ในห้องเรียน ดังนั้นแม้ว่าคุณจะเรียนจบด้านไอทีมาโดยตรงก็ต้องมาเริ่มต้นเรียนรู้ระบบงานใหม่ แต่คุณอาจมีข้อได้เปรียบในการทำงาน ตรงที่มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานไอทีมากกว่าจึงทำให้เรียนรู้งานได้ง่ายและเร็วขึ้น กว่าคนที่ไม่ได้เรียนมา
แต่ก็ใช่ว่าคนที่ไม่ได้เรียนจบด้านไอทีจะมาทำงานไอทีไม่ได้ เพราะคุณสามารถเรียนรู้และฝึกฝนทักษะงานทางด้านไอทีด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการเขียนโปรแกรม หรือศึกษาความรู้พื้นฐานของประเภทงานไอที เพื่อสามารถนำไปต่อยอดในการทำงานได้ นอกจากนี้ คุณยังสามารถไปอบรมความรู้ทางด้าน งานไอที เพิ่มเติม จากสถาบันอบรมไอทีต่าง ๆ เช่น สถาบันวิทยาการ สวทช. หรือ NSTDA ที่ให้บริการอบรมความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านต่าง ๆ เพื่อพัฒนาทักษะในด้านไอทีให้พร้อมกับการทำงานในประเภทงานไอที ต่าง ๆ พร้อมทั้งมีบริการสอบมาตรฐานวิชาชีพไอที เพื่อยกระดับความรู้ความสามารถในการทำงานได้อีกด้วย
ดังนั้น คนที่เรียนสาขาอื่น แต่มีใจรักและมีความต้องการทำงานใน ประเภทงานไอที ก็สามารถทำได้ ซึ่งคุณจะต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการทำ งานไอที ดังนี้
1.ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับ ประเภทงานไอที ที่สนใจ โดยเริ่มจากการศึกษา Job description ที่อธิบายขอบเขตและความรับผิดชอบในการทำงาน,คุณสมบัติเบื้องต้นที่คนทำงานต้องมีและความรู้ที่ต้องใช้ในงาน
2.ฝึกฝนทักษะทางด้านไอทีให้ชำนาญ รวมทั้งศึกษาความรู้พื้นฐานทางด้านคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นเพื่อให้สามารถเข้าใจระบบงานโดยรวม และสามารถเรียนรู้งานได้เร็ว
3.สร้างผลงานหรือ Portfolio ในการนำเสนอ เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้งานไอที และทำให้ผู้สัมภาษณ์งานสามารถประเมินความสามารถของคุณได้เร็วและง่ายขึ้น
4.ยอมรับบอกว่า “ไม่รู้” การทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว รู้ไปหมดทุกเรื่อง ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็น,คำติเตียนและข้อเสนอแนะ เป็นการปิดโอกาสในการเรียนรู้อย่างน่าเสียดาย ดังนั้นถ้ายอมรับว่าไม่รู้เรื่องในงาน IT ด้านไหน จะทำให้คุณเร่งพัฒนาตัวเอง และศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมให้มากขึ้น
ไม่ว่าคุณจะเรียนจบจากสาขาไหน ก็สามารถทำงานไอที ให้ประสบความสำเร็จได้ หากมีความตั้งใจจริง